กำหนดตำแหน่งภายในเซลล์ ตามแนวนอน และแนวตั้ง |
บทความนี้ กล่าวถึงการใช้ คุณสมบัติของเซลล์ ในเรื่องกำหนด ระยะแนวนอน และแนวตั้ง ภายในเซลล์นั้น เพิ่อให้วัตถุในช่องนั้น อยู่ในตำแหน่งที่กำหนด ตามที่ต้องการ
|
วิธีกำหนดตำแหน่งภายในเซลล์ ตามแนวนอน และแนวตั้ง
1. คลิ๊กเมาส์ภายในเซลล์ หรือช่องนั้นๆ ที่ต้องการแก้ไข
2. จากนั้น คลิ๊กที่ไอคอนคุณสมบัติของเซลล์
3. กำหนด : ตำแหน่งแนวตั้ง (vertical_align) เลข2 / ตำแหน่งแนวนอน (horizontal_align) เลข1 |
|
ตัวอย่างในภาพด้านล่าง : เป็นรูปแบบตำแหน่งต่างๆ ของตำแหน่งในแนวนอน และแนวตั้ง
- ปกติ เวลาใส่ข้อความ หรือวัตถุลงไปในเซลล์ ตำแหน่งในแนวตั้ง จะอยู่กึ่งกลางความสูงเซลล์เสมอ หากไม่มีการแก้ไข
- และ ตำแหน่งในแนวนอน ข้อความ หรือวัตถุที่ใส่ลงไปในเซลล์ จะอยู่ตำแหน่งชิดซ้ายเสมอ หากไม่มีการแก้ไข
|
|
4. การกำหนด ความกว้าง และส่วนสูง เฉพาะช่อง หรือเซลล์นั้นๆ
- ปกติ จะกำหนดเฉพาะความกว้าง (width) อย่างเดียว
สามารถกำหนด ได้ 2 แบบ คือ เป็น % (ยืดหยุ่นตามความกว้างตารางทั้งหมด) เช่น 80% หรือ px (ขนาดตายตัว) เช่น 560 (ไม่ต้องใส่ px)
- ส่วนความสูง (height) : มักปล่อยว่างไว้ เพราะขึ้นอยู่กับวัตถุ ที่อยู่ด้านใน
จากตัวอย่าง ในภาพด้านบน สังเกตุว่า เมื่อกำหนดความกว้าง เฉพาะช่องด้านบนเพียงช่องเดียว ช่องที่อยู่ด้านล่าง 2 และ3 ก็จะกว้างเท่ากัน
หรือ หากกำหนดความสูง เฉพาะเซลล์ด้านซ้าย เซลล์ที่อยู่ถัดไปทางขวา ก็จะมีความสูงเท่ากัน ต้องขึ้นอยู่กับค่าความสูงที่กำหนด จะต้องสูงกว่าข้อความ หรือวัตถุที่อยู่ภายในช่อง หรือเซลล์นั้นด้วย |
|
|
Play แล้วกด ปุ่ม Pause เพื่อรอให้โหลดหมดก่อน จะได้ไม่สะดุด |