หน้าแรก

 Help1

แจ้งข้อแนะนำ

การเพิ่ม/แก้ไขฟอร์ม

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ เพิ่มช่องในการรับข้อมูล เพิ่มจากฟอร์มรับข้อมูลมาตรฐาน ที่ระบบได้สร้างไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นฟอร์มรับข้อมูลแบบเข้าอีเมล์ ,ฟอร์มรับสมัครสมาชิกเข้าฐานข้อมูล หรือจะเป็นฟอร์มติดต่อเรา ก็สามารถเพิ่มช่องรับข้อมูลได้เช่นกัน โดยใช้ กลุ่มคำสั่งสร้างไดนามิคฟอร์มในฟังก์ชั่นต่างๆมาแนะนำ โดยมีวิธีการที่ไม่ยากครับ

เพิ่ม/แก้ไขเท็กซ์ฟิลด์
คำสั่งนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการให้กรอกข้อมูลที่ไม่ยาวเกินไป เช่น ชื่อนามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน

เพิ่ม/แก้ไขแถบตัวเลือก
คำสั่งนี้ใช้ในกรณีที่มีคำตอบชัดเจนโดยสามารถเลือกคำตอบได้ เช่น วันเดือนปี อายุ จังหวัด

เพิ่ม/แก้ไขเท็กซ์แอเรีย
คำสั่งนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการให้กรอกข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

เพิ่ม/แก้ไขเรดิโอบัตตอน
คำสั่งนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการกำหนดให้เลือกคำตอบใดคำตอบหนึ่ง เช่น เพศ ระดับการศึกษาสูงสุด

เพิ่ม/แก้ไขเท็กซ์บ๊อก
คำสั่งนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการให้เลือกคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ เช่น งานอดิเรก

เพิ่ม/แก้ไขปุ่ม
คำสั่งนี้ใช้ในการสร้างปุ่มส่งข้อมูล เช่น ปุ่มตกลงส่งข้อมูล ปุ่มล้างข้อมูล

เพิ่ม/แก้ไขฟอร์ม

ขั้นตอนที่ 1 : กำหนดตำแหน่ง และสร้างคำสั่งฟอร์ม

1. หาตำแหน่งที่จะสร้างฟอร์ม

  • คลิ๊ก mouse pointer ในตำแหน่งที่ต้องการ (ให้ cursor กระพริบ)

2จากนั้นคลิ๊กไอคอนเพิ่ม/แก้ไขฟอร์ม

3. กำหนดคุณสมบัติ เพิ่ม/แก้ไขฟอร์ม

  • name : ตั้งชื่อของฟอร์มจะตั้งเป็นชื่ออะไรก็ได้ จะมีผลกับการเขียน java เท่านั้นเพราะต้องมีการอ้างถึง object  ฉะนั้นโดยทั่วไปสามารถใส่ myform ตามที่ระบบใส่ให้ก็ได้
  • method : เลือกเป็น post
  • action : ระบบจะใส่ให้เอง เมื่อเลือกคำสั่งจาก ช่อง support
  • support :  แยกตามการใช้งาน
  • target : ปล่อยว่างไว้
  • Enctype : ใช้กับฟอร์มที่มีการอัพโหลดไฟล์ ต้องเลือกเป็น multipart/form-data
    แต่ถ้าเป็นฟอร์มรับข้อมูลทั่วไป ไม่มีการแนบไฟล์หรืออัพโหลด ก็ให้เลือกเป็น none
  • แล้วคลิ๊ก

ขั้นตอนที่ 2 : สร้างตารางรับข้อมูล

1. เมื่อได้คำสั่งฟอร์ม (เส้นประสีแดง) จากขั้นตอนที่1 แล้ว

  • ลำดับต่อมาจะเป็นการเพิ่มตารางรับข้อมูล ลงไปในคำสั่งฟอร์ม (เส้นประสีแดง) โดยการคลิ๊กลงไปในเส้นประแดง

2. จากนั้นไปคลิ๊กที่ ไอคอนเพิ่มตาราง

3. กำหนดคุณสมบัติเพิ่มตาราง

  • rows : จำนวนแถว หรือบรรทัด ที่ต้องการ
  • columns : จำนวนคอลัมภ์
  • width : ความกว้างของตาราง
  • height : ความสูงของตาราง
  • border : ความหนาของกรอบ 0 หรือปล่อยว่างไว้ คือ ไม่มีกรอบ
  • cellpadding : ระยะห่างระหว่างข้อมูล กับขอบตาราง
  • cellspacing : ระยะห่างของเส้นขอบตาราง
  • bgimage : การใส่ภาพพื้นหลัง ให้กับตาราง (แนะกำหนดใน CSS ดีกว่า)
  • bgcolor : สีพื้นหลัง ของตาราง

กำหนดเสร็จแล้ว คลิ๊ก

4. เมื่อตารางแล้ว ทำการเพิ่มช่องรับข้อมูลได้เลย โดยดูตัวอย่างได้จาก

5. ตกแต่งสีของช่อง แต่ละช่องได้

6. ตัวอย่างการกำหนด สีขอบตาราง

7. ตัวอย่างการ กำหนดหน้าหลังจากส่งข้อมูล

8. ตัวอย่างการกำหนดไฟล์ตอบรับ

9. เสร็จแล้วจะได้ดังภาพด้านล่าง


เมนูที่เกี่ยวข้อง


คู่มือการใช้งาน

คู่มือโปรแกรมสำเร็จรูป
วิธีสร้างระบบสมาชิก
ฟอร์มสำเร็จรูป

 

ของแต่งเว็บไซต์

บทความทั่วไป

การโปรโมทเว็บไซต์

ทริปแนะนำ

THTWEB MANUAL คู่มือการใช้งานเว็บไซต์