หน้าแรก  Help1 แจ้งข้อแนะนำ

วิธีแก้ไขเนื้อหา หรือบทความเดิม

การแก้ไขบทความเดิมที่มีอยู่แล้ว สามารถทำได้ 3 ช่องทาง

วันนี้เรามีวิธีการแก้ไขดังกล่าวมาแนะนำ โดยมีวิธีแยกกันไป ตามจุดที่คุณถนัด ดังนี้

  1. แก้ไขจากหน้าเว็บไซต์ ผ่านไอคอน บริเวณด้านบนซ้าย ของเนื้อหาหน้านั้นๆ
  2. แก้ไขจากหน้าเว็บไซต์ เช่นกัน แต่จะคลิ๊กผ่านลิงค์ ของเมนูผู้ดูแลระบบ (ที่อยู่ด้านล่างสุด ของหน้านั้นๆ) (บางกรณีอาจอยู่ด้านขวาของเว็บ สังเกตุว่าจะมี scrollbar เลื่อนซ้าย-ขวา)
  3. และ แก้ไขจากหน้าหลักของระบบพัฒนาเว็บไซต์ ที่เมนู 5.1 ไฟล์เนื้อหา (จะมีไฟล์ที่ถูกบันทึกทั้งหมดภายในเว็บ รวมอยู่ในนั้น)


ช่องทางที่1 : เปิดหน้าที่ต้องการจะแก้ไข จะมีไอคอนสำหรับการจัดการอยู่  ตำแหน่ง ด้านบนเนื้อหา ด้านซ้ายมือ



ภาพประกอบ ช่องทางการเข้าแก้ไขเว็บไซต์ แบบที่ 1



1. webmaster Login เข้าสู่ระบบการแก้ไขเว็บไซต์ ( /2222 )

2. เลือกที่เมนู 1. ตั้งค่าทั่วไป1.1 ดูผลการพัฒนา

3. เปิดหน้าที่ต้องการจะแก้ไข

4. สังเกตุ มุมบนซ้าย ของบทความ หน้าที่เปิดอยู่ จะมีไอคอนเครื่องมือจัดการบทความ และการตั้งค่าอยู่

แก้ไขหน้านี้ ***
(Edit this page)
: ใช้ แก้ไขหน้าเดิมที่กำลังเปิดอยู่ โดยคลิ๊กที่ไอคอน แล้วระบบจะพามาหน้าแก้ไข แล้วปรับปุงเนื้อหาเดิม
เพิ่มหน้าใหม่
(Add new page)
: ใช้ สร้างหน้าเนื้อหาใหม่ โดยคลิ๊กที่ไอคอน ระบบจะพาไปหน้าสร้างเนื้อหาใหม่ จากแบบสำเร็จ
แก้ไขบทความที่มีอยู่แล้ว
(Edit Content)
: คลิ๊กเพื่อเข้าไป เลือกรายการไฟล์เนื้อหา จากบทความทั้งหมด ที่มีอยู่ในเว็บ (เมนูบาร์ 5.1) สามารถเข้าไปเลือกแก้ไขจากในนั้นได้
แก้ไขเทมเพลท ***
(Edit Template)
: ใช้ในการ แก้ไขเทมเพลทที่กำลังเปิดอยู่หน้าปัจจุบัน 
เพิ่มเทมเพลท
(Add new Template)
: ใช้ในการ สร้างเทมเพลมใหม่ โดยคลิ๊กที่ไอคอน แล้วระบบจะพาไปให้เลือกกลุ่มเทมเพลทต้นแบบ ที่ได้ดีไซต์ไว้ให้เบื้องต้นแล้ว
ตั้งค่าภาษาเว็บไซต์ที่ ... (Website Setting) : ใช้ตั้งค่า ภาษาเว็บไซต์ทั่วไปสำหรับเทมเพลท ที่ใช้อยู่หน้าปัจจุบัน ที่เปิดอยู่ เช่น คำขวัญหรือสโลแกน คำอธิบายเว็บไซต์ หรือคำค้นหา ที่ใช้ในSearch Engine
ตั้งค่าตัวแปร
(Set Value)
: ใช้ในการ ตั้งค่าเริ่มต้นเว็บไซต์โดยทั่วไป (เมนูบาร์ 1.3.4) เช่น โหมดการทำงาน พื้นเว็บไซต์ เปิด-ปิดเว็บไซต์ และสีทั่วไป เป็นต้น
พื้นที่ผู้พัฒนาเว็บไซต์ (Member Mode) : สำหรับคลิ๊ก เข้าสู่ระบบการพัฒนาเว็บไซต์
ตัวช่วย
(Helper)
: ไอคอน ระบบช่วยเหลือ เป็นการแนะนำการใช้งานเว็บไซต์
แถวที่มี *** คือ เป็นไอคอนที่ใช้งานบ่อยๆ

 


ช่องทางที่2 : แก้ไขผ่าน เมนูผู้ดูแลระบบ ตำแหน่ง อยู่ด้านล่างสุดของเว็บไซต์ หรือทางด้านขวา (แล้วแต่กรณีขึ้นอยู่กับเทมเพลทที่ใช้)


ภาพประกอบ ช่องทางเข้าแก้ไขเว็บไซต์ แบบที่ 2

 


ผู้ดูแลระบบ

แก้ไขหน้านี้
(Edit this page)
: ใช้ แก้ไขหน้าปัจจุบันที่กำลังเปิดอยู่ โดยคลิ๊กที่เมนู แล้วระบบจะพามาหน้าแก้ไข เพื่อเริ่มการปรับปรุง
แก้ไขเทมเพลท
(Edit Template)
: ใช้ในการ แก้ไขเทมเพลทที่กำลังเปิดอยู่หน้าปัจจุบัน
เข้าสู่ระบบ
(Log in)
: สำหรับคลิ๊ก เข้าสู่ระบบการพัฒนาเว็บไซต์
ออกจากระบบ
(Log out)
: เมื่อไม่ใช้งานแล้ว คลิ๊กที่เมนูนี้  เพื่อออกจากระบบการพัฒนาเว็บไซต์ ทุกครั้ง

 


ช่องทางที่3 : แก้ไข จากระบบพัฒนาเว็บไซต์ ที่เมนูบาร์ 5.1 ไฟล์เนื้อหา ในนี้จะรวบรวมไฟล์ที่สร้างมาทั้งหมด สามารถแสดงผลหน้าเว็บไซต์ได้ และแก้ไข จากในนี้ได้เช่นกัน



 

1. เลือกที่เมนูบาร์ 5. จัดการไฟล์5.1 ไฟล์เนื้อหา (.html)


ภาพประกอบเมนูไฟล์เนื้อหา

2. พอเข้ามาหน้าไฟล์เนื้อหา


ภาพประกอบ ช่องทางเข้าแก้ไขเว็บไซต์ แบบที่ 3

 

 ช่อง

คำอธิบาย

ค้นหาชื่อไฟล์
(Search File Name)
เพื่อร่นเวลาค้นหา ที่ต้องคลิ๊กทีละหน้า ช่องนี้จึงมีประโยชน์มากในการหาไฟล์ที่ต้องการ เพราะใส่ ชื่อไฟล์เพียงบางคำ หรือตัวเลขบ้างส่วน ระบบค้นหาก็ดึงเฉพาะไฟล์ที่มีคำนั้นมาแสดง
อัพโหลดไฟล์
(Upload File)
ในช่องนี้จะใช้อัพโหลด ได้เฉพาะไฟล์ Html เท่านั้น ทีละ 1 ไฟล์ ถ้าต้องการอัพโหลดมากกว่ารนั้นต้องไปที่ 5.4 อัพโหลดไฟล์ จะได้ทีละ 10 รายการ
ลำดับที่
(Number)
สำหรับใช้เลือกไฟล์ที่ต้องการจะลบ เท่านั้น โดยติ๊กถูก หน้าชื่อไฟล์ที่ต้องการจะลบ แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม
ดูผล
(View result)
ใช้เพื่อดูหน้าเว็บไซต์จริง เหมือนบุคคลทั่วไปที่เข้ามาภายในเว็บไซต์
แก้ไข ***
(Edit)
: สำหรับแก้ไขเนื้อหา หรือบทความ โดยจะมีเครื่องมือในการแก้ไขเว็บไซต์
: สำหรับแก้ไขชื่อไฟล์(Rename) ที่เป็น .html หรือ สำหรับไฟล์ที่สร้างจาก dreamwaver หรือโปรแกรมอื่นๆ
เพื่อกำหนดเป็น No All : ไม่แสดงเทมเพลม (เพื่อจะได้ไม่ถูกระบบตัดแทค <head> ออก ทำให้แสดงผลไม่เหมือนกับที่ดีไซต์ไว้)
ชื่อไฟล์
(File Name)
แสดงชื่อไฟล์ ต่างๆ ที่สร้างภายในเว็บไซต์ทั้งหมด
ขนาดไฟล์
(Size)
แสดงขนาดไฟล์ Html นั้นๆ หน่วยเป็น Kb. ไม่ควรให้มีขนาดใหญ่มากเกินกว่า 50 - 60kb
หัวข้อเรื่อง
(Topic)
ตั้งจากในหน้าแก้ไขของไฟล์นั้น ปกติจะเป็นข้อความสำคัญ ภายในเนื้อหา จำเป็นสำหรับ Search engines
กำหนดสิทธิการเข้าชม (The right for viewing page)
บุคคลทั่วไป : ทุกคนสามารถดูข้อมูลภายในหน้านั้นๆได้
สำหรับสมาชิกเท่านั้น : ต้องใส่รหัสผ่านก่อน ถึงจะดูข้อมูลหน้านั้นได้
ระงับการใช้งานชั่วคราว : ระบบจะแจ้งว่าระงับการใช้งานชั่วคราวหน้านั้น
เลือกเทมเพลท? (Choose Template ?) จะแจ้งให้รู้ว่าหน้าเนื้อหานั้นใช้เทมเพลทชื่ออะไร โดยกำหนดจากไฟล์เนื้อหา
ปรับปรุงเมื่อ
(Update)
แจ้งวันที่ เวลา ที่เข้ามาปรับปรุงครั้งล่าสุด

 


Play แล้วกด ปุ่ม Pause เพื่อรอให้โหลดหมดก่อน จะได้ไม่สะดุด


เมนูที่เกี่ยวข้อง

คู่มือการใช้งาน
คู่มือโปรแกรมสำเร็จรูป
วิธีสร้างระบบสมาชิก
ฟอร์มสำเร็จรูป
ของแต่งเว็บไซต์ บทความทั่วไป การโปรโมทเว็บไซต์ ทริปแนะนำ
THTWEB MANUAL คู่มือการใช้งานเว็บไซต์